วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดประเภทของการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์

การจัดประเภทของการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์


ภาพการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ในระดับ X1.9 เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Solar Dynamics Observatory (SDO)
เครดิต : NASA / SDO


การระเบิดขนาดยักษ์บนดวงอาทิตย์ก่อให้เกิดการลุกจ้าและส่งพลังงานแสงรวมทั้งอนุภาคความเร็วสูงออกสู่อวกาศ การลุกจ้าเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับการเกิดพายุพลังงานแม่เหล็กดวงอาทิตย์หรือที่รู้จักกันในชื่อพายุสุริยะเป็นการปลดปล่อยมวลโคโรนา Coronal Mass Ejections (CMEs) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบมากบนดวงอาทิตย์ในขณะนี้ นอกจากนั้นดวงอาทิตย์ยังสามารถปล่อยกระแสโปรตรอนได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ Solar Energetic Particle (SEP) และการแปรปรวนของลมสุริยะ Corotating Interaction Regions (CIRs) ทั้งหมดนี้สามารถก่อให้เกิดพายุสุริยะที่แตกต่างกัน การเกิดพายุสุริยะหากมีความรุนแรงอาจไปรบกวนระบบ การส่ือสาร วิทยุคลื่นระยะสั้น สัญญาณGPS และสายไฟฟ้าบนโลกได้

ปริมาณกิจกรรมบนดวงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นประมาณทุกๆ 11 ปี และในขณะที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนไปสู่ช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์สูงสุดซึ่งมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในช่วงประมาณปี 2013 นั้นหมายความว่าดวงอาทิตย์จะเกิดการปล่อยพลังงานจากการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ได้มากขึ้น

องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศของสหรัฐอเมริกา หรือ (NOAA) ได้มีการวางแผนจำแนกหมวดหมู่ของการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ และพายุสุริยะ โดยการลุกจ้าขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์นี้ จะเรียกว่า การลุกจ้าระดับ X ซึ่งการจำแนกการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์จะแบ่งตามระดับความรุนแรงของการลุกจ้า โดยการลุกจ้าขนาดเล็กที่สุดจะอยู่ในระดับ A - class ตามด้วย B,C,M, และ X คล้ายกับมาตราริกเตอร์วัดแผ่นดินไหว ซึ่งจะแสดงถึงพลังงานที่เกิดจากการลุกจ้าเพิ่มขึ้น 10 เท่าของตัวอักษรแต่ละตัว ดังนั้น X จะมีค่าพลังงาน 10 เท่า ของระดับ M และจะมีค่าพลังงานเป็น 100 เท่าของระดับ C ซึ่งหมายความว่าในแต่ละตัวอักษรจะมีตัวเลขระดับขนาด 1-9 ระดับ

หากจะกล่าวถึงผลกระทบจากการลุกจ้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า การลุกจ้าระดับ C จะมีพลังงานที่อ่อนเกินกว่าที่จะส่งผลกระทบต่อโลก แต่ในระดับ M สามารก่อให้เกิดความเสียหายตอวิทยุคลื่นส้ันๆ และยังมีพายุรังสีที่อาจเป็นอันตรายกับนักบินอวกาศ และการลุกจ้าระดับ X แม้ว่า X1 จะเป็นตัวอักษรลำดับสุุดท้าย แต่พลังงานจากการลุกจ้าก่อให้เกิดพลังงานมากกว่า 10 ระดับ ดังนั้นการลุกจ้าในระดับ X สามารถก่อให้เกิดพลังงานสูงกว่าระดับ 9 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบอิเลคทรอนิคบนโลก สำหรับการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ที่มีความรุนแรงที่สุดที่วัดได้โดยวิธีที่ทันสมัยเม่ือปี 2003 ในช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์สูงสุด ซึ่งเซนเซอร์สามารถวัดได้ในระดับที่ X15 แต่จากการคาดการณ์คาดว่าจะสูงถึงระดับ X28

เนื่องจากปัจจุบันดวงอาทิตย์อยู่ในช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนถึงช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์สูงสุดจึงทำให้เราเห็นการเกิดกิจกรรมบนดวงอาทิตย์มากขึ้น การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ระดับ X ครั้งแรกของวัฏจักรสุริยะปะทุขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 และมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เมื่อวันที 23 มกราคม 2012 ดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยพลังงานที่ระดับ M8.7


ภาพการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ solar energetic particle (SEP) ที่ก่อให้เกิดการรบกวนที่ดูเหมือนมีหิมะ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2012 จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Solar Heliospheric Observatory (SOHO) เครดิต : SOHO / ESA และ NASA


ทั้งนี้องค์การนาซา, องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศของสหรัฐอเมริกา (NOAA),หน่วยงานกองทัพอากาศสหรัฐ (AFWA) และอืนๆ ได้เฝ้าสังเกตการณ์ค่าพลังงานที่เกิดจากการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ว่าอยู่ในระดับใด และจะมีความรุนแรงมากพอที่จะเป็นพายุสุริยะได้หรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพือป้องกันผลกระทบกับยานอวกาศ ดาวเทียม และระบบเทคโนโลยี เป็นต้น

ที่มา
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=351:-coronal-mass-ejections&catid=1:astronomy-news&Itemid=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม