วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นักวิเคราะห์เผยกรุงเทพฯ ติดอันดับ เสี่ยงพายุเช่นเดียวกับสหรัฐฯ



น้ำท่วม

ดร.เสรี ชี้ สถานการณ์น้ำท่วมปีนี้ ไม่รุนแรง แต่ต้องระวัง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
http://thaiflood.kapook.com/view49994.html
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก foto76 / Shutterstock.com

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ สถิติการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย และแต่ละครั้งก็นำมาซึ่งความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนนับหมื่นนับแสน เช่นล่าสุด พายุเฮอริเคนแซนดี้ก็ได้พัดถล่มหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้บ้านเรือนประชาชนเสียหายหนัก เมืองทั้งเมืองในหลายรัฐต้องเป็นอัมพาต เพราะน้ำท่วม ถนนหลายสายถูกตัดขาด ซึ่งแม้ว่าประชาชนชาวอเมริกันจะเตรียมรับมือกันเป็นอย่างดี แต่ภัยธรรมชาติไม่เคยปรานีใคร ต่อให้พวกเขาเตรียมรับมือเท่าไร ก็ไม่อาจรับมือได้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเฮอริเคนครั้งนี้เป็นจำนวนไม่น้อย

สำหรับประเทศไทยนั้น แม้จะโชคดีที่ไม่เคยได้เจอกับพายุ หรือภัยพิบัติที่ร้ายแรงเช่นนั้นได้บ่อย ๆ แต่อย่าชะล่าใจไปเชียว เพราะล่าสุด นักวิเคราะห์ได้ออกมาเตือนว่า เมืองใหญ่ ๆ อย่างกรุงเทพมหานครก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับภัยพิบัติเช่นนี้เหมือนกัน แถมยังติดท็อปเท็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในโลก ที่อาจเสียหายหนักจากเหตุการณ์น้ำท่วมและพายุไซโคลนภายใน 50 ปีข้างหน้านี้

สำนักวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมแกรนแฮม ในลอนดอน เปิดเผย 20 อันดับ เมืองใหญ่ที่เสี่ยงเสียหายหนักจากเหตุการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นภายในปี 2070 และปรากฏว่า กรุงเทพมหานครติดโผอันดับที่ 7 ขณะที่เมืองในเอเชียติดอันดับถึง 15 เมืองด้วย โดยทั้ง 20 อันดับ ได้แก่เมืองดังต่อไปนี้

1. โกลกาตา ประเทศอินเดีย
2. มุมไบ ประเทศอินเดีย
3. ธากา ประเทศอินเดีย
4. กวางโจว ประเทศจีน
5. โฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม
6. เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
7. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
8. ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
9. ไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
10. ไฮฟอง ประเทศเวียดนาม
11. อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
12. เทียนจิน ประเทศจีน
13. กุลนา ประเทศบังคลาเทศ
14. หนิงป๋อ ประเทศจีน
15. ลากอส ประเทศไนจีเรีย
16. อาบีจาน ประเทศไอเวอรีโคสต์
17. นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
18. จิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ
19. โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
20. จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เปิดเผยว่า เมืองใหญ่ ๆ ในเอเชียที่ติดอันดับนั้น ไม่เพียงแต่จะเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกพายุไซโคลนถล่ม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายหนักมาก ด้วยปัจจัยที่ว่า ยังมีประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่มีความแข็งแรงน้อย คุณภาพต่ำ ซึ่งเปราะบางต่อภัยธรรมชาติมาก ดังนั้น หากรัฐบาลในเมืองเหล่านี้ยังไม่มีการรับมืออย่างจริงจัง อาจนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาลได้ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม