วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พายุไซโคลนยาซี พัดเข้าชายฝั่งออสเตรเลียแล้ว

พายุไซโคลนยาซี พัดเข้าชายฝั่งออสเตรเลียแล้ว


พายุไซโคลนยาซี พัดเข้าสู่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียแล้ว ขณะที่ทางการเร่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่

พายุไซโคลนยาซี ซึ่งมีแรงลมใกล้ศูนย์กลางกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ กว่า 400,000 คน ตลอดความยาวของแนวชายฝั่ง 370 ไมล์ รวมทั้งในเมืองแคร์นส์, ทาวน์สวิลล์ เมื่อวันพฤหัสบดี (3 กุมภาพันธ์) ตามเวลาท้องถิ่นแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทางการได้มีการอพยพประชาชนนับหมื่นคน ไปหลบอยู่ในสถานที่พักฉุกเฉิน ก่อนที่พายุไซโคลนยาซีจะพัดถล่ม ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนว่า พายุไซโคลนยาซี อาจมีทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย

นอกจากนี้ เที่ยวบินจำนวนมาก ได้ขนย้ายนักท่องเที่ยวและผู้คนออกจากเมืองแคร์นส์, ทาวน์สวิลล์หนีพายุดังกล่าว ตั้งแต่ช่วงเช้าวันพุธ ก่อนสนามบินทั้งหมดจะถูกปิด

ขณะที่ แอนนา บลายห์ นายกรัฐควีนส์แลนด์ กล่าวเตือนให้ประชาชนเตรียมใจรับความเสียหายที่ต้องเผชิญ "เราอาจต้องหัวใจสลายและเผชิญกับสภาพการทำลายล้างในระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนอย่างไม่ต้องสงสัย ประเทศของเราไม่เคยรับมือกับสิ่งใดที่เหมือนกับไซโคลนลูกนี้มาก่อน"

สำหรับ พายุไซโคลนยาซี คาดจะมีความรุนแรงที่สุดลูกหนึ่งในประวัติศาสตร์ เทียบเท่าเฮอริเคนแคทรีนา และพายุไซโคลนยาซีลูกนี้เป็นภัยธรรมชาติล่าสุดที่ซ้ำเติมรัฐควีนส์แลนด์ ที่เพิ่งประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐ หลังจากพายุโซนร้อนหลายลูกทำให้ฝนตกหนักนับแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน คาดว่าเส้นทางที่มันเคลื่อนผ่านจะกระทบต่อประชาชนมากกว่า 400,000 คนตั้งแต่ในเมืองแคร์นส์, ทาวน์สวิลล์ และแม็กเคย์ เมืองริมชายฝั่งเหล่านี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของพวกแบกเป้เที่ยว และนักดำน้ำดูปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ

ภาพถ่ายดาวเทียมเผยให้เห็นขนาดของพายุที่ครอบคลุมบริเวณกว้างใหญ่กว่าอิตาลี หรือนิวซีแลนด์ บลายห์กล่าวว่าอันตรายที่สุดของมันคือคลื่นยักษ์ซัดฝั่ง ที่พยากรณ์อากาศทำนายว่าอาจสูงถึง 7 เมตรจากระดับคลื่นสูงปกติ เครือข่ายโทรศัพท์ในพื้นที่อาจใช้การไม่ได้และประชาชนราว 150,000-200,000 คนอาจไม่มีไฟฟ้าใช้ เหมืองแร่, รถไฟ และท่าเรือขนถ่านหินปิดทำการทั้งหมดแล้ว หลังจากเจ้าหน้าที่เตือนว่าพายุอาจเคลื่อนสู่ดินแดนชั้นในนับพันกิโลเมตร ทำให้เขตชนบทและเขตทำเหมืองที่เคยประสบน้ำท่วมหลายเดือนอยู่ในความเสี่ยง

ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/55828

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม