วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันสิ้นโลกอาจไม่ใช่ 2012

หลายคนที่ยังติดภาพหายนะจากภาพยนตร์ 2012 อาจใจชื้นขึ้นมาได้ เมื่อปฏิทินมายาที่เชื่อว่าทำนายวันสิ้นโลกนั้น อาจไม่สิ้นสุดในวันที่ 21 ธ.ค.2012 ก็ได้ แต่ข่าวร้ายสำหรับผู้เชื่อเพราะถ้าเรื่องวันสิ้นโลกไม่ตรงกับวันดังกล่าวจริง ก็ไม่มีใครรู้ว่าแท้จริงแล้วตรงกับวันไหน หรืออาจจะถึงเวลาแล้วก็ได้
ไลฟ์ไซน์ยกข้อถกเถียงดังกล่าวจากตำราเล่มใหม่ “ปฏิทินและปี เล่ม 2: ดาราศาสตร์และเวลาในโลกโบราณและโลกยุคกลาง” (Calendars and Years II: Astronomy and Time in the Ancient and Medieval World) ของสำนักพิมพ์ออกซ์โบว์บุคส์ (Oxbow Books) ซึ่งระบุว่า ปฏิทินมายาแปลงเทียบกับปฏิทินปัจจุบันไม่ได้มานานถึง 50-100 ปีแล้ว

ข้อถกเถียงล่าสุดโยนคำพยากรณ์และคำโฆษณาเกินจริงเกี่ยวกับความเชื่อปี 2012 ทิ้งไปนานหลายทศวรรษ และยังชวนให้สงสัยต่อวันเวลาของเหตุการณ์ชาวมายาในอดีต ทั้งนี้ ความตื่นกลัวต่อหายนะนั้น อยู่บนฐานข้อมูลว่าปฏิทินรอบยาว (Long Count) ของชาวมายันจะสิ้นสุดในปี 2012 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายเหมือนวันที่ 31 ธ.ค.ตามปฏิทินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ปฏิทินมายาถูกแปลงเป็นปฏิทินแบบเกรกอเรียน (Gregorian) ที่ใช้กันอยุ่ทุกวันนี้ โดยใช้ตัวคำนวณที่เรียกว่า “ค่าคงที่จีเอ็มที” (GMT constant) ซึ่งตั้งขึ้นตามอักษรต้นของชื่อนักวิจัยเรื่องชาวมายา ตามข้อมูลในบทที่เขียนขึ้นโดย เจราร์โด อัลดานา (Gerardo Aldana) ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาชาวชิคานาและชิคาโน (ชาวเม็กซิกันในสหรัฐฯ) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาร์บารา (University of California, Santa Barbara) นั้นระบุว่า การแปลงปฏิทินนั้นให้ความสำคัญกับวันที่รื้อขึ้นมาจากเอกสารอาณานิคมที่เขียนภาษามายาด้วยอักษรละติน

ในภายหลังค่าคงที่จีเอ็มทีนั้น ได้รับการสนับสนุนโดย ฟลอยด์ เลาน์เบอรี (Floyd Lounsbury) นักภาษาศาสตร์และนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งใช้ต่างบันทึกโบราณเดรสเดนโคเด็กซ์วีนัส (Dresden Codex Venus Table) ซึ่งเป็นปฏิทินและหนังสือบันทึกข้อมูลสถิติของชาวมายา ที่ตารางวันซึ่งสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์

อัลดานากล่าวว่างานของเลาน์เบอรีนั้นเขี่ยอุปสรรคบางอย่างออกไปเพื่อให้ยอมรับค่าคงที่จีเอ็มทีได้อย่างเต็มที่ และพิสูจน์ค่าคงที่ดังกล่าวถูกต้อง แต่เขากล่าวว่าลานของเลาน์เบอรีนั้นยังห่างไกลจากผลงานที่โต้แย้งไม่ได้ หากตารางบันทึกดาวศุกร์นั้นใช้พิสูจน์ค่าคงที่เอฟเอ็มที (FMT) อย่างที่เลาน์เบอรีระบุ การยอมรับค่าคงที่ดังกล่าวได้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่แน่ชัด

อัลดานากล่าวว่าข้อมูลประวัติศาสตร์นั้นมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าตารางเอง นั่นจึงเป็นสาเหตุให้มีการถกเถียงเพื่อล้มความน่าเชื่อถือของค่าคงที่จีเอ็มที แต่เขาเองก็ไม่มีคำตอบว่าปฏิทินที่ถูกต้องหลังการแปลงแล้วนั้นควรจะเป็นอย่างไร แต่ให้ความสำคัญในการอธิบายว่าการตีความในปัจจุบันนี้อาจจะผิดก็ได้ และดูเหมือนว่านักทฤษฎีเกี่ยวกับวันสิ้นโลกจำเป็นต้องหาปฏิทินโบราณอื่นเพื่อตอกย้ำความหวังเชิงพยากรณ์ของพวกเขา

ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000148195

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม